SME คืออะไร มีกี่ประเภท และสำคัญอย่างไรในธุรกิจปัจจุบัน
ใครที่สนใจทำธุรกิจ จะต้องรู้จักคำนี้เป็นอย่างแน่นอน “SME” และยิ่งไปกว่านั้นคือจะมีคำถามเสมอว่า “เราเป็น SME หรือเปล่า?” ก่อนอื่นจะต้องเข้าใจว่า SME คืออะไร และประเภทของ SME จากนั้นทำความเข้าใจถึงความสำคัญในการทำธุรกิจแบบ SME เพื่อให้คุณหาเครื่องมือหรือรูปแบบการทำงานได้อย่างตรงความต้องการ
SME คือ การทำธุรกิจรูปแบบหนึ่ง SME ย่อมาจากคำว่า Small and Medium Enterprises ซึ่งหมายความว่า เป็นธุรกิจขนาดเล็ก (S) และขนาดกลาง (M) SME จะมีมาตรฐานการเติบโตธุรกิจที่วัดผลได้เป็นรายได้ต่อปีเติบโตประมาณ 30% - 50% ของผลประกอบการโดยในทางกฎหมาย การทำ SME นั้นจะสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทตามมูลค่าสินทรัพย์ถาวรและจำนวนพนักงาน ได้แก่
1.กิจการเกี่ยวกับการผลิต
หมายถึง กิจการที่นำวัตถุดิบมาแปรรูปเป็นสินค้า คลอบคลุมถึงกิจการที่ทำเกี่ยวกับเกษตรกรรม, อุตสาหกรรม และเหมืองแร่ เช่น โรงงานผลิตน้ำดื่ม, โรงงานผลิตอาหารแห้ง, โรงงานผลิตกระดาษ เป็นต้น
2.กิจการเกี่ยวกับการค้า
หมายถึง กิจการที่นำสินค้าสำเร็จรูปมาจำหน่ายทั้งแบบปลีก (Retailer) และแบบส่ง (Wholeseller) โดยกิจการเกี่ยวกับการค้านี้จะไม่ได้เป็นผู้ที่ผลิตสินค้าเอง เช่น ร้านค้าออนไลน์ในแพลตฟอร์ม LAZADA Shopee, ร้านค้าโชห่วย, ห้างสรรพสินค้า, ร้านทอง, ร้านจำหน่ายอาหารสัตว์ เป็นต้น
(สนใจอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเพิ่มยอดขายในแพลตฟอร์มได้ที่ : 7 วิธีเพิ่มยอดขาย Shopee ที่ทำง่ายและเห็นผลเร็วที่สุด, 6 วิธีเพิ่มยอดขาย Lazada ง่ายๆ แต่บางร้านอาจไม่รู้)
3.กิจการเกี่ยวกับการบริการ
หมายถึง กิจการที่ให้บริการ ไม่เน้นการจำหน่ายสินค้าที่จับต้องได้ โดยมีผู้ให้บริการเป็นพนักงานของกิจการเอง เช่น คลินิกเสริมความงาม, โรงแรม, โรงเรียนกวดวิชา, กิจการรับทำบัญชี, กิจการให้คำปรึกษา (Consult) เป็นต้น
ตรวจสอบว่าธุรกิจเป็นแบบขนาดย่อม (S) หรือแบบขนาดกลาง (M) ได้ตามตารางลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ประกาศโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดังตาราง
(Source : https://www.sme.go.th/)
ความสำคัญของธุรกิจ SME
ตั้งแต่ปี 2019 การทำธุรกิจแบบ SME ก็มีมากขึ้นเรื่อย ๆ เรียกได้ว่าการขับเคลื่อนของ SME นี้ทำให้เกิดการสร้าง GDP ที่สูงขึ้นให้กับประเทศได้เลย เนื่องจากการเริ่มต้นทำธุรกิจแบบ SME นี้ทำง่าย ผู้ประกอบการสามารถเริ่มต้นทำธุรกิจได้ด้วยตัวเอง การตัดสินใจและโครงสร้างพนักงานสามารถทำได้เองเลย ดังนั้น SME จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทย
ในขณะเดียวกันผู้ประกอบการ SME เองก็ต้องแบกรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นในการทำธุรกิจเช่นกัน โดยความเสี่ยงหลัก ๆ ที่หลายคนได้พบเจอ ได้แก่
- เข้าง่ายและขาดทุนง่าย
จากการที่ทำธุรกิจ SME นั้นมีอิสระเป็นอย่างมาก อยากทำอะไรก็ทำได้ แต่ในขณะเดียวกันคือความเป็นจริงการเอาใจลูกค้าและการรักษายอดขายไม่ใช่เรื่องง่าย ทำให้ SME ส่วนมากขาดทุนและไปต่อไม่ไหว
- ขาดความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
ธุรกิจขนาดเล็กเองอาจจะไม่มีความเชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาด้านการทำบัญชี, ภาษี หรือด้านกฎหมาย เนื่องจากเมื่อวันหนึ่งธุรกิจมีความเติบโต ทำให้ธุรกิจเจอความท้าทายมากมาย แต่ยังมีพนักงานไม่เพียงพอและไม่ชำนาญ ทำให้เกิดการสะดุดได้
- แผนการตลาดยังไม่แข็งแรง
โลกหมุนไวขึ้นมาก การทำออนไลน์ก็สำคัญ ออฟไลน์ก็ต้องดำรงอยู่ไว้ การตัดสินใจภายใต้ความกดดันทางด้านการตลาดนั้นมีมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นผู้ประกอบการที่ไม่วางแผนการตลาดอย่างแข็งแรงก็อาจจะพบเจอกับปัญหาที่ยากจะแก้ไขได้
หลายท่านอย่าเพิ่งกังวลมากจนเกินไป เพราะมีหน่วยงานที่คอยช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ก็คือ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) สามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์เพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.sme.go.th/
Source : https://www.sme.go.th/
https://www.facebook.com/pricezainsights/photos/a.2035057746602080/3584851351622704/
Author : Pajaree Kanmaneelert