รวมเว็บขายของออนไลน์ที่ร้านค้าใช้มากที่สุดปี 2021

    พ่อค้าแม่ขายทั้งหลายที่ขายในออนไลน์จะต้องปวดหัวกับคำถามที่ว่า “เราจะขายในเว็บขายของออนไลน์ไหนดี ?” บทความนี้จะมีการวิเคราะห์เกี่ยวกับเว็บขายของ แอปขายของทั้งฟรีและไม่ฟรีช่องทางที่ลูกค้าเลือกซื้อมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด และช่องทางที่พ่อค้าแม่ค้าเลือกขายมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ซึ่งเว็บเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็จะฟรีไม่มีค่าธรรมเนียม หรือบางเว็บก็มีค่าใช้จ่าย ดังนั้นเพื่อช่วยให้เจ้าของร้านค้าตัดสินใจได้ว่าเราจะขายสินค้าในเว็บขายของออนไลน์ไหนดีที่สุด

head



    ในปี 2020 สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับตลาด E-commerce เกี่ยวกับลำดับช่องทางออนไลน์ที่คนนิยมซื้อและขายเป็นกี่ % ดังภาพ

Online Channels


วิเคราะห์เว็บขายของออนไลน์

    ช่องทางที่ลูกค้าเลือกซื้อ

อันดับที่ 1 Shopee
    Shopee เป็นแอปที่ซื้อง่ายขายคล่อง และสร้างระบบทุกอย่างมาเพื่อซื้อขายโดยเฉพาะ ดังนั้นคนที่เข้ามาในแอปก็คือตั้งใจมาเพื่อซื้อสินค้าโดยเฉพาะ และนอกจากนี้ Shopee ยังมีบริษัทแม่คือ Sra Group ที่อยู่สิงคโปร์ทำให้เชื่อมั่นได้ว่าการทำงานทั้งการตัดเงินและการส่งของจะถูกการันตีว่าเชื่อถือได้ และมีรีวิวจากผู้ใช้จริงทำให้เชื่อมั่นว่าสินค้าจะถูกต้องตามที่ผู้ซื้อคาดคิดไว้

อันดับที่ 2 LAZADA
     ตามมาด้วย LAZADA ที่มีบริษัทแม่ยักษ์ใหญ่จาก Alibaba แต่ก็มีสำนักงานใหญ่ที่สิงคโปร์เหมือนกับ Shopee ซึ่งจุดเด่นของ LAZADA คือมีภาพสินค้าที่สวยงามน่าเชื่อถือ และยังจัดโปรโมชันรัว ๆ จากร้านค้าไม่ว่าจะเป็น 3.3 หรือ 11.11 ที่เราเคยเห็นกันก็ช่วยกระตุ้นยอดขายให้คนหลั่งไหลเข้ามาซื้อตั้งแต่ 5 ทุ่มของวันก่อนจัดโปรกันเลยทีเดียว

อันดับที่ 3 Facebook
    Facebook เป็น Social media ที่ผู้ใช้งานเข้าไปดูเรื่องราวของเพื่อน ๆ และก็ยังสามารถเข้าไปชอปปิงได้ เพราะในนั้นก็มีเพจที่จำหน่ายสินค้ามากมาย ทำให้บางทีจะไปดูไปส่องเพื่อน แต่ก็ขอแวะซื้อสินค้าที่เลื่อนผ่านหน้าไทม์ไลน์สักหน่อย เลยทำให้ Facebook เป็นแหล่งที่ผู้ซื้อมักจะซื้อของมากเป็นอันดับ 3

อันดับที่ 4 LINE
    ในปีที่ผ่านมา LINE เองที่เริ่มก่อตั้งตัวเองด้วยเป็นแอปพลิเคชันสำหรับแชท ก็เริ่มมีการเปิด LINE Shop และ LINE Official ที่ทำให้ลูกค้าเองก็ได้เห็นสินค้าและสามารถ Shopping แบบออนไลน์ใน LINE ได้อย่างสะดวกเช่นกัน

อันดับที่ 5 Instagram
    IG เป็นแอปพลิเคชันที่แชร์รูปภาพ ที่เป็นเครือของ Facebook ก็เป็นแหล่ง Shopping ของนักช็อปเช่นกัน จุดเด่นคือเห็นภาพชัดเเจน และ 1 Post ก็สามาถใส่ได้หลายภาพ และยังมี IG Story ที่ปัจจุบันก็มีการแทรกการโฆษณา (Sponsored) เข้ามาตลอดระหว่างดูสตอรี่ของเพื่อน ปัดซ้ายปัดขวา ปัดไปมา รู้ตัวอีกทีก็เผลอกดจ่ายเงินไปเสียแล้ว

อันดับที่ 6 Twitter
    ผู้ใช้ Twitter เป็นประจำจะทราบดีว่าการใช้ Twitter จะไม่ได้มีจุดประสงค์หลักเพื่อการซื้อขายของ แต่จะเน้นเป็นการเข้าไปบ่น หรือเล่าชีวิตส่วนตัวผ่าน 280 ตัวอักษรต่างหาก แต่ในโลกทวิตเองก็มีบุคคลที่ขายสินค้าเยอะเช่นกัน จุดเด่นของการขายของในทวิตจะเป็น Influencer ที่เข้ามารีวิวสินค้านั่นเอง ถ้าหากมีการตั้งใจขายมาก ๆ คนในทวิตก็จะเริ่มบ่น ดังนั้นเคล็ดลับก็คือร้านค้าต้องขายแบบแกล้ง ๆ ไม่จงใจมากเกินไป และรีวิวด้วยความจริงอย่างตรงไปตรงมา



    ช่องทางที่พ่อค้าแม่ค้าเลือกขาย

อันดับที่ 1 Facebook
    การเข้าไปขายสินค้าใน Facebook นั้นทำง่าย สะดวกและรวดเร็ว เลยทำให้พ่อค้าแม่ขายเลือกที่จะขายใน Facebook กันเยอะ เพียงแค่สร้างเพจ และลงรูป ก็สามารถขายของได้แล้ว แต่ในส่วนของการโฆษณาของ Facebook หรือที่เราเรียกว่า Facebook Ads เองก็มีต้นทุนอยู่ประมาณหนึ่ง ดังนั้นร้านค้าเองก็ต้องวางแผนการทำการตลาดและการยิง Ads ใน Facebook ด้วย

อันดับที่ 2 Shopee
    เมื่อมีผู้ซื้อสินค้าเยอะใน Shopee ก็ต้องมีผู้ขายเยอะเช่นกัน เพราะทาง Shopee เองก็ต้องมีการ Balance ระหว่าง Demand และ Supply ในแอปพลิเคชั่นด้วย และในแอป Shopee ก็มีส่วนช่วยเหลือพ่อค้าแม่ขายเยอะ ปัจจุบันก็มีโฆษณาใน Shopee ให้ร้านค้าเข้าไป Bid Keyword ตัวเลือกการค้นหามากมาย ทำให้สินค้าของร้านค้าติดหน้าแรกช่วยเพิ่มการมองเห็นและการกดเข้าตระกร้าด้วย 

อันดับที่ 3 LINE
    LINE Shop เป็นตัว Drive ให้ร้านค้าเข้ามาขายของเพราะใช้ง่ายสะดวก ผู้ใช้ LINE ก็เข้ามาชอปปิงอย่างสนุกสนานแถมยังเป็นพื้นฐานของแอปพลิเคชันสำหรับการแชท เลยทำให้การติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายเป็นไปได้อย่างสะดวกเลยทำให้ LINE วิ่งมาเป็นอันดับ 3 ของช่องทางที่ร้านค้าชอบขายนั่นเอง


อันดับที่ 4 Instagram
    IG ก็เป็นแหล่งที่พ่อค้าแม่ค้าชอบขายสินค้าเพราะสร้างร้านได้ง่ายเพียงแค่ทำภาพสวยและมีแคปชันเด็ด ๆ ก็สร้างยอด Follow ได้มากมาย และเมื่อมียอด Follow ก็จะช่วยในการมองเห็น Post อีกด้วย

อันดับที่ 5 LAZADA
    อุปสรรคการเข้า LAZADA ของฝั่งร้านค้าจะค่อนข้างเยอะ เนื่องจากร้านค้าจะต้องถูก Verified By LAZADA และยังมี LAZMall ที่เป็นคู่แข่งในแอปด้วย ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยที่ถึงแม้ LAZADA จะมีผู้ซื้อเยอะ แต่ผู้ขายจะน้อย แต่ยอดดาวน์โหลดของ LAZADA เองก็โตไม่หยุด หรือนี่อาจจะเป็นกลยุทธ์ผู้นำตลาดของ LAZADA ก็เป็นได้

อันดับที่ 6 Twitter
    จุดเด่นของ Twitter คือ แฮชแท็ก (#) ถ้าหากเราสร้างร้านค้าในทวิตเตอร์แล้วเราเพียงแค่ใส่ # เข้าไปก็จะทำให้เราเป็นร้านค้าที่ผู้ซื้อหาเจอได้ง่ายนั่นเอง แต่ก็อย่าลืมว่าเราต้องหา # ที่โดนใจ และคนค้นหาเยอะด้วยนะ ซึ่ง # ส่วนใหญ่ที่โด่งดังในทวิตเตอร์ก็มักจะเป็นสินค้าพรีออเดอร์ และสินค้าเกี่ยวกับศิลปินเกาหลี ซึ่งความนิยมนี้ก็เป็นที่น่าสนใจและเข้ามาลงทุนของ Official Account ด้วย

กล่าวโดยสรุปการจะนำสินค้าไปขายที่ไหน ร้านค้าจะต้องมี Concept ประจำใจคือ “เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม” เราลองไปส่องก่อนว่าสินค้าไหนขายดี หมวดหมู่ไหนเป็นที่สนใจในแต่ละช่องทาง จากนั้นนำมา Weight น้ำหนักดูว่าเราจะเลือกไปลงที่ไหนดี และลงสินค้าอะไรบ้าง เพราะจะช่วยให้เราประหยัดต้นทุนแถมยังเพิ่มช่องทางให้ลูกค้าเห็นเราในหลาย ๆ ที่ ในอนาคตก็อาจจะทำเป็น Omni Channel ได้ด้วย

คุณอาจจะสนใจบทความนี้ : Omni Channel คืออะไร ความหมายของ Omni Channel


Source : https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/knowledge-sharing/articles.aspx
https://www.facebook.com/pricezainsights

 


Author : Pajaree Kanmaneelert