Marketing Dashboard คืออะไร ตัวอย่างการใช้งาน และประโยชน์
Marketing Dashboard คือ กระดานสรุปผลการทำการตลาด ที่รวบรวมข้อมูลที่สำคัญมาแสดงใน Dashboard ไม่ว่าคุณจะเป็นสาย Offline marketing หรือ Digital Marketing ก็จำเป็นจะต้องใช้ทั้งนั้น สาเหตุที่เราต้องมีการออกแบบ Marketing Dashboard ก็เพราะการทำการตลาดนั้นมีความละเอียดและซับซ้อนหลายอย่าง นักการตลาดต้องวิเคราะห์ข้อมูลมากมาย ดังนั้นการมีกระดาน 1 แผ่น สรุปภาพรวม (Overall) ของกิจการ จะทำให้เราได้เห็นภาพที่กว้างขึ้นและช่วยในการตัดสินใจได้อีกด้วย
ตัวอย่างเช่น ร้านค้าออนไลน์แห่งหนึ่งมีเครื่องสำอางหลายชนิด และยังขายในหลายช่องทางด้วย ดังนั้น Marketing Dashboard ที่ดีก็ควรจะแสดงข้อมูลดังต่อไปนี้
- จำนวนลูกค้าใหม่
- จำนวนยอดขายแยกรายสินค้า
- จำนวนยอดขายแยกตามช่องทางการขาย
- จำนวนลูกค้าที่ห่างหายไปเกิน 3 เดือน
- สัดส่วนแหล่งที่อยู่ของลูกค้า
- สัดส่วนเพศ
- สัดส่วนอายุ
ตัวอย่าง Marketing Dashboard
Marketing Dashboard ที่ดี
1.ดูง่าย เรียบง่าย เห็นภาพชัด
Dashboard ที่ดีจะต้องไม่ยุ่งยาก ตัวหนังสือเยอะและใช้พื้นที่เยอะจนเกินไป เพราะจุดประสงค์ของการทำ Dashboard ก็เพื่อสรุปทำให้นักการตลาดอ่านได้อย่างง่ายนั่นเอง
2.มีข้อมูลที่ใช้งานได้ ตอบคำถามที่จำเป็น
สิ่งที่สำคัญที่สุดของ Dashboard คือ “ข้อมูล” นั่นเอง ผู้บริหารหรือนักการตลาดที่เข้ามาดู Dashbord นั้นต้องการข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นในการตัดสินใจ ดังนั้นหัวข้อของข้อมูลใน Dashbord ควรจะคัดแต่ข้อมูลที่สำคัญจริง ๆ เท่านั้นมาแสดง
ข้อมูลที่ใช้งานได้จะต้องตอบคำถามของธุรกิจได้อย่างชัดเจน โดยแต่ละธุรกิจนั้นจะมีข้อมูลที่แสดงแตกต่างกันไป เช่น ร้านขายของเบ็ดเตล็ด (มีสินค้าหลายชนิด) กับร้านขายของเฉพาะกลุ่ม (มีสินค้าไม่กี่ชนิด) ก็จะมี Dashboard ที่แตกต่างกัน
3.เลือกกรอง (Filter) ข้อมูลได้
การเลือก Filter ข้อมูลเฉพาะที่เราอยากดูได้ ทำให้การวิเคราะห์นั้นดีขึ้นได้ เช่น เราขายสินค้าทั้งใน LAZADA, Shopee, JD Central, LINE MyShop และขายหน้าร้าน ดังนั้นถ้ามี Dashboard ที่มีแยกแต่ละช่องทางได้จะทำให้ความละเอียดในการตัดสินใจ และนำข้อมูลไปจัดโปรโมชันได้
4.เลือกช่วงเวลาของข้อมูลได้
แน่นอนว่าการตัดสินใจทำการตลาดนั้นมีความแตกต่างกันไปตามช่วงเวลา เช่น สินค้าบางชนิดขายตามฤดูกาล การตัดสินใจและการใช้ข้อมูลนั้นก็จะต้องเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม หรือนักการที่ต้องการที่จะออกโปรโมชันตามช่วงระยะเวลานั้นก็จำเป็นจะต้องใช้ข้อมูลเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีที่ผ่านมา เป็นต้น
5.เปลี่ยนแปลงได้ตามเวลาและภารกิจ
Dashboard ที่ดีไม่จำเป็นต้องเหมือนเดิมตลอดไป ถ้าหากมีเหตุการณ์หรือ Marketing Objective ที่เปลี่ยนไป ก็สามารถเปลี่ยนหัวข้อ หรือข้อมูลที่จะแสดงใน Marketing Dashboard ได้ และปรับให้เข้ากับสถารการณ์ได้ตลอดเวลา
การใช้งาน Marketing Dashboard ถ้าหากใช้งานถูกต้อง และนำข้อมูลไปใช้ตามความจำเป็นแล้วจะเกิดประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก ดังนั้นผู้บริหารหรือนักการตลาดเองต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อน ว่าเราอยากได้ข้อมูลอะไรบ้างมาใส่ใน Dashboard และใช้ข้อมูลนั้นอย่างเป็นประโยชน์มากที่สุด
Author : Pajaree Kanmaneelert