ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) คืออะไร ฉบับอธิบายเข้าใจง่าย

    ถ้าหากพูดถึงคำว่า “สินค้า” ทั้งสินค้าออนไลน์และออฟไลน์ แน่นอนว่าสินค้าแต่ละอย่างจะต้องมีที่มาที่ไป มีต้นกำเนิดของสินค้าที่แตกต่างกันไป ดังนั้นคำว่า ‘ที่มาที่ไป’ ก็คือห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) นั่นเอง บทความนี้จึงมีความหมายของห่วงโซ่อุปทาน, ห่วงโซ่อุปทานคืออะไร, มีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับเครือข่ายโลจิสติกส์
    ตัวอย่างห่วงโซ่อุปทาน เช่น ‘ทอง’ กว่าจะมาเป็นสร้อยทอง ก็ต้องมีการขุดทองออกมาเป็นวัตถุดิบ นำมาเจียระไน ส่งมากระจายตามร้านทองต่าง ๆ และมีผู้ซื้อทองมาซื้อไปใส่ไปเป็นของขวัญ, ผลไม้กระป๋อง เริ่มต้นจากการปลูกผลไม้ นำมาแช่อิ่ม ตากแห้ง และเข้าโรงงานอัดใส่กระป๋อง กระจายมาแบบค้าส่ง ต่อมาด้วยค้าปลีกและท้ายสุดที่ผู้บริโภค เป็นต้น
    เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น จะสามารถอธิบายกระบวนการของห่วงโซ่อุปทานได้ดังภาพ

What is Supply Chain


    ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) คือ สิ่งอำนวยความสะดวก เป็นฟังก์ชัน เป็นกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการไหล (Flow) และการแปลงสภาพ (Convert) สินค้าและบริการจากวัตถุดิบไปจนถึงมือลูกค้า โดยวัตถุประสงค์ของกลุ่มกระบวนการคือ ทำเพื่อจัดหา, ผลิต และจัดส่งสินค้า (Provide, Manufacture, Delivery) ดังนั้นจะเห็นว่าการขนส่ง (Logistics) เป็นเพียงส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทาน
    บางครั้งห่วงโซ่อุปทานก็จะถูกเรียกว่า “โซ่คุณค่า” (Value Chain) เป็นแนวคิดที่มีการเพิ่มคุณค่าให้กับสินค้าหรือบริการในขณะที่เคลื่อนไปในโซ่อุปทาน การสร้างโซ่คุณค่านี้มักจะใช้กับกิจกรรมภายในองค์กรและลูกค้ามักจะไม่ทราบถึงกิจกรรมเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น ร้านค้าออนไลน์ได้รับสินค้ามาจากประเทศจีนโดยเป็นผู้นำด้านต้นทุนราคาที่ถูกที่สุด (Cost Leadership) เมื่อเทียบกับร้านค้าที่ขายสินค้าเดียวกัน ร้านนี้ก็สามารถลดราคาลงได้อีก เนื่องจากต้นทุนถูกมาก เป็นต้น
    ร้านค้าย่อมต้องการโซ่อุปทานที่ดี มีประสิทธิภาพตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำอยู่แล้ว ดังนั้นตารางนี้จะแสดงถึงโซ่อุปทานที่มีประสิทธิภาพ

Efficiency of Supply Chain

การจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain Management)


    ผู้จัดการโซ่อุปทาน (SC Manager) จะเป็นผู้ที่บริหารจัดการโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงมีแนวคิดในการจัดการโซ่อุปทานดังนี้


1.การรวมความเสี่ยง (Risk Pooling)


    ความเสี่ยงจะถูกรวมอยู่ในที่เดียวกันเพื่อลดความเสี่ยงของแต่ละตัว เช่น การรวมสินค้ามาอยู่ในแหล่งเดียวกันในคลังเดียว, ลดจำนวนชิ้นส่วนให้เป็นชิ้นเดียวและสามารถทำงานได้เหมือนกัน, ออกแบบการผลิตให้ให้ยืดหยุ่นผลิตได้หลายอย่าง เช่น ผลิตครีมออนไลน์สามารถเปลี่ยนกลิ่นได้ เติมวิตามิน C E ได้

2.การหน่วงเวลา (Postponement)


    ออกแบบสินค้าให้สามารถเลื่อนการสร้างความแตกต่างของสินค้าได้จนกระทั่งเราทราบความต้องการของลูกค้า ตัวอย่างเช่น การขายลิปสติกแบบจิ้มจุ่มให้มีสีหลัก 5 สี และเมื่อปล่อยสินค้าออกสู่ตลาดแล้วลูกค้าต้องการสีอื่นเพิ่มก็สามารถผสมสีจาก 5 สีนี้ ให้กลายเป็นสีใหม่อีก 20 สีได้

3.การตอบสนองเร็ว (Quick Response)


    ร่วมกันระหว่างผู้ค้าส่งและค้าปลีกให้มีการปรับปรุงให้ส่งไวขึ้น เติมสินค้าไวขึ้น หรือมีการทราบข้อมูล Demand และเตรียมการล่วงหน้าได้อย่างไว

4.การบริหารสินค้าคงคลังโดยผู้ขาย (Vondor-Managed Inventory: VMI)


    มีการแบ่งปันข้อมูลที่ได้จากระบบ POS (Point Of Sales) และผู้ขายส่งเตรียมข้อมูลให้ผู้ค้าปลีกเลย โดยที่ไม่ต้องมีการสั่ง (Order) 

5.การวางแผน การพยากรณ์และการเติมเต็มสินค้าด้วยความร่วมมือกัน (Collaborative Planning, Forecasting, Replenishment : CPFR)


     เป็นการร่วมมือกันระหว่างบริษัทมากกว่า 1 บริษัท มีการมาพยากรณ์ Demand ร่วมกัน และใช้แผนการเดียวกันนี้กับทั้งโซ่อุปทาน โดยจะใช้ข้อมูลเหล่านี้
    - ยอดขายในอดีต
    - ข้อมูล ณ จุดขาย (POS)
    - ระดับสินค้าคงคลังที่เหลือในมือ
    - ตารางเวลาการส่งเสริมการขาย
 


Source : Chapter 10 Supply Chain Management อาจารย์อดิศักดิ์ ธีรานุพัฒนา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


Author : Pajaree Kanmaneelert