วิธีเลือกระบบ POS ควรคำนึงถึงอะไรบ้าง มาดูกัน

    เมื่อพูดถึงการขายของ สิ่งที่มาคู่กันคือการเก็บเงิน ตั้งแต่สมัยโบราณก็จะมีการเก็บเงินมาใส่กระเป๋า และนับเงินตอนปิดร้าน แต่พ่อค้าแม่ค้าสมัยนี้มีเครื่องมือช่วยเก็บเงินที่สะดวกกว่า ก็คือระบบ Point Of Sale ที่หลาย ๆ คนเรียกว่า พอส หรือ พีโอเอส นั่นเอง ซึ่ง POS ก็จะเป็นเครื่องคิดเงิน ที่จะประกอบไปด้วย 1.หน้าจอฝั่งร้านค้า 2.เครื่องปริ้นใบเสร็จ 3.เครื่องเก็บเงิน, ทอนเงิน 4.หน้าจอแสดงผลฝั่งลูกค้า 5.เครื่องรูดบัตรเครดิต เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ นั้นก็ขึ้นอยู่กับขนาดร้านค้า หรือความต้องการแต่ละร้าน โดยระบบ POS ในประเทศไทยก็มีหลายแบรนด์ให้เจ้าของธุรกิจเลือกใช้ตามความต้องการ ทำให้วิธีเลือก POS ว่าจะใช้ POS เจ้าไหนดีนั้นจำเป็นมาก เพราะถ้าตัดสินใจผิด ต้องมาเริ่มใหม่กับแบรนด์ใหม่นั่นเอง เจ้าของธุรกิจจึงควรศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับ POS ให้มากที่สุดและเลือกแบรนด์ที่ตอบโจทย์เรามากที่สุดด้วย

head

วิธีเลือก POS ให้เหมาะกับร้านค้า

1.ร้านเราเป็นร้านขนาดใหญ่ กลาง หรือเล็ก?

    ขนาดร้านค้าใหญ่กลางเล็กมีผลต่อขนาดของการเก็บข้อมูลของ POS ด้วย เนื่องจาก POS บางแบรนด์ส่วนใหญ่ในตลาดก็สร้างมาให้ตอบโจทย์เฉพาะร้านขนาดเล็กถึงกลางเท่านั้น ดังนั้นถ้าคุณเป็นร้านค้าขนาดใหญ่มาก ธุรกิจที่มีจำนวน Transaction มากกว่า 1 ล้านต่อเดือน หรือต่อวัน ก็ต้องเลือก POS ที่มีการเก็บข้อมูลแบบ SAP หรือมี Database ของตัวเอง แต่ร้านค้าขนาดเล็กถึงกลางก็ไม่ต้องกังวลไป เพราะในตลาดมีหลายเจ้าให้เลือกตามความต้องการของธุรกิจเลย

2.ร้านเราขายสินค้าประเภทใด?

    ร้านค้าคุณอยู่ในอุตสาหกรรมใด เช่น ร้านอาหาร ร้านขายสินค้าเบ็ดเตล็ด, ร้านขายสินค้าเฉพาะ, คลินิกเสริมความงาม, ร้านขายยา, อู่ซ่อมรถ, ร้านที่มีบริการด้วย ฯลฯ ซึ่งแต่ละอุตสาหกรรมก็จะมีความต้องการรายละเอียดของ POS ที่แตกต่างกัน 

3.ร้านเรามีช่องทางการขายในไหนบ้าง?

    Online/Offline คุณขายของในไหนบ้าง คุณติดต่อกับลูกค้าผ่านทางช่องทางไหนบ้าง เช่น เจอกันหน้าร้านแบบ Face-to-Face, Grab, LINE OA, Facebook, LAZADA, Shopee, JD Central เป็นต้น ซึ่งแต่ละ Platform นั้นก็จะมีการเก็บข้อมูลลูกค้าและการคิดเงินที่แตกต่างกัน ดังนั้นการเลือก POS บางครั้งอาจจะต้องคำนึงถึงการเก็บข้อมูลแบบออนไลน์ไว้ด้วย ซึ่งไม่ต้องกังวล ในตลาดมี POS มากมายสำหรับร้านออนไลน์

4.เราต้องการรายงานที่ละเอียดขนาดไหน?

    ส่วนนี้ค่อนข้างมีความซับซ้อนมากตามความต้องการใช้ข้อมูลของเจ้าของธุรกิจ เพราะอย่างที่เรารู้กันว่าปัจจุบันธุรกิจขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data) เจ้าของธุรกิจจะใช้ข้อมูลเอาไปทำไรบ้าง ต้องตอบคำถามให้ได้ ดังตัวอย่าง
    4.1 ข้อมูลยอดขายรายวัน นำไปใช้ในการคำนวณกำไร
    4.2 ข้อมูลค่าใช้จ่ายรายวัน นำไปใช้ในการลดต้นทุน และตรวจสอบการทำงานของพนักงาน
    4.3 ข้อมูล Stock วัตถุดิบ นำไปใช้การสั่งซื้อวัตถุดิบในครั้งหน้าหรือ Safety Stock
    4.4 ข้อมูลสมาชิก นำไปใช้ในการทำการตลาด
    4.5 ข้อมูล Popular Product นำไปใช้ในการโปรโมท และสร้าง Promotion

5.เรามีงบสำหรับ POS กี่บาท?

    ข้อนี้สำคัญเลย เพราะ POS แต่ละแบรนด์ ราคาแตกต่างกันไป การที่ธุรกิจจะเลือกใช้ POS นั้นจะถือเป็นค่าใช้จ่าย และยังมีต้นทุนการเปลี่ยนสูงอีกด้วย (Switching Cost) ซึ่งแบรนด์ POS แต่ละแบรนด์จะมีวิธีการจ่ายเงินและ Package ที่ต่างกัน มีบางเจ้าที่เรียกจ่ายแบบขายขาด บางเจ้าเป็นแบบเช่า สามารถเลือกจ่ายแบบ 1, 3, 6 เดือน หรือ 1 ปรล่วงหน้าได้ ดังนั้นการตัดสินใจเลือกใช้ POS ตามงบนั้นจึงจำเป็นมากเลยล่ะ

6.การบริการหลังการขายของ POS ดีแค่ไหน?

    เราซื้อ POS มาใช้ ไม่ได้ถือเป็นการจบขั้นตอน เพราะยังไงเราต้องติดปัญหาในการใช้งานอยู่แล้ว ดังนั้นแบรนด์ POS ที่ดีจะต้องมี Customer Support ที่ดีด้วย ซึ่ง Customer Support จะต้องพร้อมแก้ไขปัญหาให้เราตลอดเวลา แก้ไขปัญหาได้ตรงจุด บริการด้วยใจ มีเมตตาจิตและมีอุเบกขาในวันที่เราโทรไปโวยวายด้วย (แต่เราก็ไม่ควรโทรไปโวยวายนะ ถึงแม้จะเจอปัญหา เราควรตั้งสติและคุยกับ Support ดี ๆ)


แบรนด์ POS ที่น่าสนใจ

POS สำหรับร้านค้าออนไลน์

Zort ระบบจัดการร้านค้าครบวงจร

ระบบใช้ฟรี 15 วันทุกฟีเจอร์ ซึ่งมีฟีเจอร์เยอะจุใจตอบโจทย์ร้านค้าออนไลน์และออฟไลน์

Zortout
https://zortout.com/package-pos


FILLGOODS ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์

ระบบนี้มีบริการขนส่งและร้านค้าจะได้รับเรทราคาขนส่งที่ถูกกว่าส่งเองด้วย

FILLGOODS
https://www.fillgoods.co/


page365

ระบบช่วยตอบแชทกับลูกค้าได้ง่าย ช่วยเก็บเงินในช่องทางที่หลากหลาย จัดการ Stock อย่างเป็นระบบ ทดลองใช้ฟรีด้วย

page365

https://www.page365.net/


POS สำหรับร้านค้าออฟไลน์

Ocha POS ส่วนใหญ่เหมาะกับร้านอาหาร ใช้งานง่ายมาก เป็นที่นิยมมาก ๆ ในวงการร้านอาหาร มีฟีเจอร์ตอบโจทย์ครบวงจร

Ocha

https://ocha.in.th/


LOYVERSE ซอฟต์แวร์ฟรี ระบบขายหน้าร้าน และระบบจัดการสินค้าคงคลัง

ระบบจัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพ จัดการพนักงานได้อย่างง่าย รองรับการชำระเงินหลายรูปแบบ

LOYVERSE
https://loyverse.com/th


FoodStory

ระบบตอบโจทย์ร้านอาหารและยังมีความละเอียดตรงที่แยก Category ลึกลงไปในร้านอาหารแต่ละประเภทด้วย สามารถทำได้หลายอย่างครบวงจร

FoodStory
https://www.foodstory.co/

 


Source : 

https://zortout.com/package-pos

https://www.fillgoods.co/

https://www.page365.net/

https://ocha.in.th/

https://loyverse.com/th

https://www.foodstory.co


Author : Pajaree Kanmaneelert