สรุปเทรนด์ E-commerce 2022 ใครได้ไปต่อ ใครพอแค่นี้

เติบโตไม่แผ่วเลยสำหรับตลาด E-commerce 2022 นี้ … เพราะตราบใดที่โลกนี้ยังมีคำว่า “ของมันต้องมี” ยังไงตลาดอีคอมเมิร์ซ ก็ไม่มีวันบูดแน่นอน วันนี้เราเลยมาอัพเดตกันกับ OURPOINT ดีกว่า ว่าตอนนี้เทรนด์ของตลาด E-commerce เป็นยังไงกันบ้าง

สรุปเทรนด์ E-commerce ไทย 2565

E-commerce

1. Market Value ของไทยเติบโตขึ้น 75% ด้วยมูลค่า 693,000 ล้านบาท

    ผลจากการที่คนอยู่บ้านกันมากในช่วงโควิด แน่นอนว่าเวลาว่างก็นั่งช็อปปิ้งในมือถือ ในแอปต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลทำให้มูลค่าตลาด E-commerce โตพุ่งฉุดไม่อยู่เลย แต่ก็มีคำถามว่า ถ้าหากสภาพเริ่มกลับมาเป็นปกติ คนเริ่มออกไปข้างนอกแล้วจะมีผลอะไรกับตลาด E-commerce มั้ยนะ? ต้องมาคอยดูกันต่อ

2. E-commerce ในจีน มียอดขายมากที่สุดในเอเชีย-แปซิฟิก

     ปี 2023 มีการคาดการณ์ว่าจีนจะมียอดขาย E-commerce มากที่สุดในเอเชียแปซิฟิก เพราะจีนเองมีการพัฒนาเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา มีการขยายฐานกลุ่มตลาดเสมอ นอกจากนี้ธุรกิจเกี่ยวกับการโฆษณาใน Social Media ก็น่าสนใจมาก ๆ เช่นกัน

3. Metaverse มาแล้ว แต่ยังไม่ได้เข้าถึงคนในหลาย ๆ กลุ่ม

    จักรวาลเหนือจินตนาการมีการทำงานร่วมกับเทคโนโลยี เป็นเรื่องใหม่ในโลกของเราเลยทีเดียว ซึ่ง Metaverse นี้เองก็เป็นเทคโนโลยีใหม่มาก ๆ เลยล่ะ เราอาจจะสามารถหาประโยชน์จาก Metaverse ได้อีกมาก ในอนาคตในไทยอาจจะมีการ Metaverse Shopping หรือการสร้าง NFT และมีศิลปินไทยที่ทำ NFT ที่โด่งดังกันจนชินเลยก็ได้

4. Social Media หลักยังเป็น Facebook ตามด้วย LINE

    การโฆษณาใน Social Media ยังคงราคาสูงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น Ads ใน Facebook ที่มีคนแข่งขันยิง Ads กันเพียบ จากสถิติใน Social Media มีการลงทุนโฆษณาเป็นเม็ดเงินเติบโตถึง 20% ในปี 2021 เลยทีเดียว ถือเป็นตัวเลขที่น่าสนใจมาก ซึ่งผู้เล่นในตลาดได้แก่ Facebook, LINE, Tiktok, Twitter, Instagram และ YouTube

5. ช่องทางการขายของหลักคือ LAZADA และ SHOPEE รวมกันอยู่ที่ 50%

      Market Place ใน E-commerce แบบ C2C (Customer to Customer) ก็ยังคงเป็น Lazada และ Shopee ที่เป็นผู้เล่นหลักครองตลาดถึง 50% ของตลาด Market Place (ไม่ใช่ของตลาด E-commerce) อีกทั้งยังมีการเปิด Official Store บน Platform ตัวเองด้วย

6. Food Delivery มี Market Share 13% ของตลาด E-commerce ปี 2021

    นอกจากคนจะช็อปปิ้งในแอปแล้ว ก็ยังมีการสั่งอาหาร/เครื่องดื่มผ่าน Food Delivery Service อีกด้วย ทำให้ Food Delivery นี้มี Market share ใน E-commerce ถึง 13% โดยมีผู้เล่นในตลาดคือ Grab, LINE MAN, FoodPanda, All Online, True Food, Shopee Food  และ Robinhood

7. คนไทยทำธุรกรรมผ่าน Mobile Banking เก่งเป็นอันดับ 1 ของโลกปี 2020

    ‘เรื่องโอนไว ไว้ใจคนไทย’ ปี 2020 ที่ผ่านมา คนไทยครองอันดับ 1 ที่ได้ทำธุรกรรมผ่าน Mobile Banking คิดเป็น 68.1% ต่อเดือน จริง ๆ แล้วน่าจะเพราะคนไทยพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสธนบัตรกันด้วยล่ะ แถมอีกอย่างธนาคารต่าง ๆ ก็มี Service ที่ดี โอนไว สะดวก ใช้งานได้ 24 ชั่วโมงอีกด้วย

8. เพื่อให้ครบ Solution ตลาด Logistics ก็โตตามมาติด ๆ คาดว่าอาจจะโต 8% ในปี 2021

    ตลาดอีกตลาดที่น่าสนใจคือเกี่ยวกับการขนส่ง หรือ Logistics ซึ่งเป็นส่วนที่จำเป็นและเป็น Fulfillment Parts ของตลาด E-commerce ด้วย แน่นอนว่ามีสิ่งของ มีคนซื้อของ ก็ต้องมีคนส่งของ ดังนั้นตลาดนี้จึงเป็นที่น่าจับตามองเอาเรื่องเหมือนกัน ซึ่งปัจจุบันมีผู้เล่นหลัก ๆ ได้แก่ ไปรษณีย์ไทย, KERRY, J&T, Shopee Express, DHL และอีกมากมาย

9. คาดการณ์สถิติการเติบโตด้าน Sales ของ Global E-commerce

    Website eMarketer มีการรายงานว่าถึงแม้ Retail ในปี 2020 จะต่ำลง แต่การทำ Digital Marketing จะสามารถช่วยให้ตลาดกลับมาครึกครื้นและฟื้นฟูขึ้นมาได้ ทำให้พ่อค้าแม่ขายมีสถานที่ในการขาย ลูกค้ามีสถานที่ในการหาซื้อของได้ โดยในปี 2021 ที่ผ่านมา ประเทศในแถบละตินอเมริกาสร้างยอดขายได้เงินประมาณ 6.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือโตขึ้น 21% เลยทีเดียว


Sources : 

https://www.priceza.com/insights/e-commerce/
https://stepstraining.co
https://techsauce.co/tech-and-biz/


Author : Pajaree Kanmaneelert