กฎ 80 20 ที่เจ้าของธุรกิจหลายคนยังไม่รู้จัก ทำให้หลงทางในการ
ธุรกิจต้องเริ่มปรับตัวให้เข้ากับโควิดที่อยู่กับเรามานานกว่า 2 ปี และเดินหน้าทำธุรกิจต่อไปเพื่อความอยู่รอด แต่ไม่ว่าจะยุคโควิดหรือไม่โควิด หัวใจของการขายของก็คือ “ลูกค้า” นั่นเอง ดังนั้นวันนี้เราจะมาคุยกันว่า 2022 เราจะทำอะไรกับลูกค้าได้บ้าง … มารู้จักกับกฎ 80 20 (80/20) ของ Pareto (80 20 พาเรโต) กันเถอะ ซึ่งกฎนี้ เป็นกฎที่จะทำให้ธุรกิจรู้จักลูกค้ามากขึ้น และเพิ่มยอดขาย เพิ่มกำไรจากการซื้อซ้ำของลูกค้าได้ ส่วนนี้มีผลต่อความรุ่งเรืองในระยะยาวของธุรกิจด้วย
Pareto เป็นกฎที่ถูกคิดค้นโดยชาวอิตาลีที่ชื่อ “วิลเฟรโด พาเรโต” ซึ่งเค้าก็ได้นำชื่อตัวเองมาตั้งชื่อกฎเลยทีเดียว กฎนี้เป็นกฎที่ชื่อ “80 20 Pareto” ซึ่งมีหลายธุรกิจนำกฎนี้ไปใช้ และประสบความสำเร็จเป็นจำนวนมาก โดยกฎนี้คือการที่จะแบ่งลูกค้าของธุรกิจออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
“ 1.ลูกค้าจำนวน 80% ของธุรกิจ แต่ทำกำไรให้ธุรกิจเพียง 20%
2.ลูกค้าจำนวนเพียง 20% ของธุรกิจ แต่ทำกำไรให้ธุรกิจได้ถึง 80% ”
แน่นอนว่าอ่านมาจนถึงตอนนี้ ทุกคนคงว้าววว!! กันเลยใช่ไหมล่ะ ว่าเป็นไปได้ยังไงกับที่ลูกค้ากลุ่มเล็ก แต่สร้างกำไรให้ธุรกิจได้มากขนาดนี้ … ใช่แล้วล่ะ หลายคนจึงเรียกว่า กฎนี้เป็นความลับของ Pareto ยังไงล่ะ โดยความลับนี้จะสำเร็จก็ต่อเมื่อธุรกิจได้โฟกัส และทำการตลาดกับลูกค้าถูกกลุ่ม ถูกที่ ถูกเวลา นั่นเอง
ขั้นตอนการทำธุรกิจแบบแบ่งลูกค้าเป็น 80 20
1. เก็บข้อมูลลูกค้า และข้อมูลการขาย
2. นำข้อมูลมาแบ่งลูกค้าเป็นกลุ่ม
3. กลุ่มแรกเป็น 80% ที่สร้างกำไร 20% ส่วนอีกกลุ่มคือ 20% ที่สร้างกำไร 80%
4. หาไม่เจอหรอก กลุ่ม 20% ที่สร้างกำไร 80%
5. หากลุ่มที่สร้างกำไรเยอะ ๆ ไปก่อน
6. แบ่งลูกค้ากำไรเยอะ กำไรน้อย
7. โฟกัส+ทำการตลาดให้ลูกค้ากำไรเยอะ
8. พยายามแบ่งให้ลูกค้ากำไรเยอะเป็นได้ 20%
9. รักษาความสัมพันธ์ต่อไป ทำวนลูป
เพียงแค่นี้ ก็จะทำให้ลูกค้ารักเรา และอยู่กับเราไปตลอด แต่ถ้าหากใครอ่านข้อแรกแล้วชะงักทันที แสดงว่าคุณยังไม่มีระบบเก็บข้อมูลลูกค้าใช่ไหม? ถ้ายังไม่มี เราแนะนำเลย ระบบสะสมแต้ม OURPOINT CRM ระบบสะสมแต้มออนไลน์ สิ่งที่ธุรกิจจะได้คือ “ข้อมูลลูกค้ารายคน” รองรับทั้งร้านออนไลน์และคนมีหน้าร้าน ใช้งานบนเว็บไซต์ ไม่ต้องลงแอปด้วย ใช้งานง่ายแสนง่าย เริ่มเลย ทดลองใช้ฟรี 30 วัน
หมดช่วงโฆษณา กลับมาที่เนื้อหา 80 20 นี้เป็นกฎที่มีมาตั้งแต่สมัย 1986 ก็จริง แต่หลักการนั้นจะสามารถใช้ได้ตลอดจนถึงปี 2022 ก็ยังประยุกต์ใช้ได้เสมอ หากเจ้าของธุรกิจท่านไหนได้เข้ามาอ่านแล้ว นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ได้แล้วเอามาแชร์กับเราได้นะ
Author : Pajaree Kanmaneelert