How to สร้าง Persona เพื่อรู้จักลูกค้าได้ง่ายๆ ใน 4 ขั้นตอน

    เพราะ Persona คือเครื่องมือที่ช่วยให้เรามองเห็น และสามารถจับคู่ Value Proposition (คุณค่าที่ต้องการส่งมอบให้กับลูกค้า) ให้แมทช์กับปัญหาของลูกค้าได้อย่างลงตัว และมีประสิทธิภาพ ผ่านการสื่อสารที่เป็นภาษาเดียวกันกับลูกค้า เพื่อดึงดูดลูกค้า หรือกลุ่มเป้าหมายมายังหน้าเว็บไซด์ โซเชียลมีเดีย หรือ e-Marketplace ของคุณผ่านการเสิร์ชเจอ รวมถึงมีส่วนช่วยในการปรับปรุง Content Marketing ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วย มันจึงมีอิทธิพลอย่างมากต่อการทำธุรกิจในยุคนี้ และเพื่อให้การสร้าง Persona Marketing มีความแม่นยำ ใกล้เคียงกับกลุ่มเป้าหมายที่มี Potential ที่จะซื้อสินค้าหรือบริการมากที่สุดนั้น ต้องอาศัย How to สร้าง Persona ต่อไปนี้ เพื่อที่จะทำให้คุณรู้จักลูกค้าได้อย่างง่ายๆ แต่ได้ประสิทธิภาพสูงสุด!!!

4 ขั้นตอนรู้จักลูกค้ามากขึ้นด้วย Persona Marketing

1. Brainstorm ในทีม

1

    พูดคุย ระดมความคิดกับทีมงานอย่าง เซลล์ นักการตลาด ฝ่ายบริการลูกค้า เพื่อให้รู้ว่าลูกค้าเป็นใคร มีลักษณะเป็นอย่างไร รวมถึงรายละเอียดเชิงลึก เช่น  เหตุผลที่ซื้อ เหตุผลที่เลือกเจ้าอื่น หรือปฏิเสธสินค้า/บริการจากเรา พบเจอธุรกิจผ่านช่องทางใด คำถามอะไรที่พบบ่อย ทักษะอะไรบ้างที่ลูกค้าต้องมีเพื่อใช้ หรือซื้อสินค้าหรือบริการ เป็นต้น

2. เก็บรวบรวมข้อมูลจากช่องทางสื่อ

2

    เนื่องจากสื่อออนไลน์ในทุกช่องทางจะมีตัว Insights หรือข้อมูลเชิงลึกของผู้ที่เข้าชมอยู่ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะทางประชากร การเข้าชม การคลิกไปต่อ และการสอบถามข้อมูล ก็สามารถนำเอาสถิติต่างๆ ตรงนั้นมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลจากการพูดคุยกับในทีมข้างต้น และลองสรุปเขียนออกมาเป็น Persona คร่าวๆ ได้ 

3. สัมภาษณ์เชิงลึก

3

    หากข้อมูลที่ได้มายังไม่เพียงพอ ให้เชิญลูกค้าที่วิเคราะห์แล้วว่าเป็นลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย และตรงตาม Persona มาสัมภาษณ์เชิงลึกเพิ่มเติม เพื่อข้อมูลที่แน่น และแม่นยำมากยิ่งขึ้น ซึ่งในขั้นตอนนี้อาจให้ของรางวัล หรือสิทธิพิเศษจากร้านค้าเป็นการตอบแทน แถมยังช่วยสร้าง Loyalty ได้อีกด้วย

4. สร้าง Persona ตัวจริง

4

    เมื่อสัมภาษณ์เรียบร้อย มีข้อมูลอยู่ในมือมากเพียงพอที่จะสร้าง Persona ได้แล้ว ให้ใส่รูปภาพของบุคคลที่มีลักษณะตรงตาม Persona เพื่อให้เห็นภาพตรงกัน โดยการสร้าง Persona สามารถทำออกมาได้มากกว่า 1 โปรไฟล์ 


หากธุรกิจของคุณเป็นสินค้า หรือบริการที่สามารถใช้ได้ทุกเพศทุกวัย และมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่หลากหลาย คุณควรจะแบ่งลูกค้าออกมาเป็น 1-3 Personas ก็เพียงพอแล้ว เพราะธุรกิจส่วนใหญ่จะมีประมาณ 1-3 Personas การมี Persona น้อยเกินไป อาจจะมีความเสี่ยงที่เราวิเคราะห์ผิด และทำให้ผลการทำการตลาดไม่ดีขึ้น แต่ถ้าเรามีจำนวน Persona มากเกินไป ก็จะทำให้เสีย Branding และไม่มีเอกลักษณ์ประจำตัว