Competitor Analysis วิเคราะห์คู่แข่งทางการตลาด มีอะไรบ้าง

    สมัยโบราณเราก็คงจะเคยได้ยินสุภาษิตที่ว่า “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” ในโลกธุรกิจก็จะหมายถึง เจ้าตลาดที่มีอำนาจยิ่งใหญ่ก็จะมีโอกาสชนะ และมีเงินมากกว่ารายเล็ก ๆ แต่ในช่วง 2010 ที่ผ่านมาก็เริ่มมีอีกคำใหม่มาแทน นั่นคือ “ปลาเร็วกินปลาช้า” เนื่องจากเป็นช่วงปีที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมเริ่มเข้ามาในประเทศอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ใครปรับตัวทันและผลิต Product ออกมาตอบสนองลูกค้าได้ไว ก็จะมีโอกาสชนะคู่แข่ง … แต่ 2021 นี้ สถานการณ์ในมหาสมุทรจะเปลี่ยนไป เพราะจะเป็นยุคของ “ปลาฉลาด กินปลาโง่” เพราะอะไรนั้นไปตามดูกัน เพราะบทความนี้จะกล่าวถึง Competitor analysis หรือ การเคราะห์คู่แข่งทางการตลาด ฉบับ 2021 ที่ใครหลายคนหลังจากอ่านแล้วจะต้อง Take action ในธุรกิจของตัวเองเป็นอย่างแน่นอน 

    เฮียฮ้อ RS Group ได้กล่าวไว้ในบทความของ THE STANDARD ในปี 2020 ในหัวข้อ เฮียฮ้อ รีแบรนด์ 40 ปี RS Group “ยุคนี้ปลาฉลาดกินปลาโง่” เป็นคำที่อ่านครั้งแล้วรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงไปอีกยุคหนึ่งเลยก็ว่าได้ ด้วยสภาพตลาดที่เปลี่ยนแปลง บางตลาดก็แข่งขันกันสูงมากจนเป็นตลาดแบบ Red Ocean เช่น ตลาดเพลง ที่ปัจจุบันใคร ๆ ก็ทำเพลงเองได้ ปล่อยเพลงมาใน YouTube ได้แบบง่าย ๆ บางตลาดก็ซบเซาถึงขั้นปิดตัวไป เช่น ตลาดเทปคลาสเสด ซึ่งปัจจุบันแทบจะไม่มีใครหาซื้อเทปแบบนี้ไปฟังที่บ้านอีกแล้ว การที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบนี้ คือเป็นการที่หลาย ๆ ตลาดถูก Disrupt หรือถูกแทนที่ด้วยสิ่งใหม่ไปเลยนั่นเอง

    อย่างที่เห็นกันว่าปี 2021 นั้นตลาด E-commerce โตเป็นอย่างมาก เพราะด้วยการเข้าถึงของ Platform ขายสินค้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น LAZADA, Shopee, LINE Shop หรือช่องทางออนไลน์อื่น ๆ ก็ตามบวกกับสถานการณ์ COVID-19 คนออกไปชอปปิงที่ห้างไม่ได้ ทำให้การขายของออนไลน์นั้นคึกคักเป็นอย่างมาก ดังนั้นเจ้าของธุรกิจจะต้องปรับตัวให้ทันใรยุคนี้ โดยไม่เป็นปลาโง่ให้ปลาฉลาดกิน แต่จะต้องเป็นปลาฉลากที่ไปกินปลาโง่ โดยการวิเคราะห์คู่แข่งขันหรือ Competitor Analysis ด้วยเครื่องมือต่าง ๆ ตามฉบับของนักการตลาดสมัยใหม่ จะมีวิธีวิเคราะห์อะไรบ้างมาดูกัน

1.SWOT

    เครื่องมือนี้อยู่คู่ชาวไทยมานาน นั่นคือ Strengths (จุดแข็ง), Weaknesses (จุดอ่อน), Opportunities (โอกาส) และ Threats (อุปสรรค) เป็นการวิเคราะห์โดยการดูภาพรวมว่าธุรกิจของเรามีอะไรที่ใช้แข่งขันได้บ้าง โดยที่ จุดแข็งและจุดอ่อนนั้นเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในที่เราควบคุมได้ (Internal Analysis) ส่วนโอกาสและอุปสรรคเป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่เราควบคุมไม่ได้ (External Analysis) ดังนี้
    Strengths (จุดแข็ง)
คือ จุดเด่นเฉพาะของธุรกิจเราที่ใครก็มาแย่งชิงไปไม่ได้ และเป็นสิ่งที่ลูกค้ารับรู้แล้วว่าเราเด่นด้านนี้ จุดแข็งอาจจะเป็นสิ่งที่จับต้องได้ เช่น สี, กลิ่น, ความแข็งแรง, ความสวยงาม เป็นต้น หรือสิ่งที่จับไม่ได้ เช่น ความหรูหรา, ความเฟรนด์ลี่ เป็นต้น
    Weaknesses (จุดอ่อน)
คือ จุดด้อยเฉพาะของธุรกิจเรา ที่คู่แข่งทำได้ดีกว่า เป็นจุดที่เราอยากพัฒนาให้ดีขึ้น
    Opportunities (โอกาส)
คือ สิ่งที่ทุกคนในตลาดได้รับพร้อมกันในด้านบวก หมายความว่า โอกาสคือสิ่งที่ทุกคนจะได้รับ รวมถึงคู่แข่งเราด้วย โดยโอกาสนี้จะเป้นสิ่งที่เรามักจะควบคุมไม่ได้ เช่น ช่วงที่ภาวะโลกร้อน คนก็นิยมใช้ถุงผ้า ดังนั้นร้านถ้าขายถุงผ้าก็จะได้รับโอกาสในการขายที่ดีขึ้น เป็นต้น
    Threats (อุปสรรค)
คือ สิ่งที่ทุกคนในตลาดได้รับพร้อมกันในด้านลบ หมายความว่า อุปสรรคเข้ามาทีนึง ทุกคนเจ็บหมด เช่น สถานการณ์โควิดทำให้ร้านนวดจะต้องปิดร้าน นั่นคือร้านนวดทุกร้านต้องปิดหมด ไม่ใช่แค่ร้านใดร้านหนึ่ง เป็นต้น

2.Positioning Map

    เป็นการวาดแกน x และ y สำหรับตำแหน่งทางการตลาดที่เราอยู่ หรืออาจจะเป็นจุดขายของกิจการเราเมื่อเทียบกับคู่แข่งทางการตลาดทั้งหมด ซึ่งจะพล็อตกราฟออกมาเป็นดังภาพด้านล่าง ธุรกิจที่ต้องการสร้าง Positioning Map มักจะนำตัวเองไปอยู่จุด “มุมขวาบน” เพื่อให้โดดเด่นกว่าคู่แข่ง แต่ 2 สิ่งที่จะเอามาเป็นจุดเด่นไม่ได้เลย ก็คือ ราคา และ คุณภาพ เนื่องจากไม่เป็นที่นิยมและไม่มีนัยสำคัญ

positioning-map

(ที่มา : https://www.slideshare.net/CherryMalhotra/positioning-map-cosmetics)

    การสร้าง Positioning Map จะทำให้ธุรกิจได้เห็นภาพรวมความโดดเด่นของเรา เมื่อเทียบกับคู่แข่ง และยังเป็น Direction ในการวางแผนทางการตลาดได้อีกด้วย


3.ตาราง BIG M little m

    ตาราง BIG M little m เป็นตารางที่ใช้ในการเปรียบเทียบธุรกิจเราคู่แข่งหลาย ๆ คนในตลาดแบบฉากต่อฉากกันไปเลย โดยจะแบ่งเป็น 2 ตาราง ได้แก่
-  ตาราง BIG M เป็นตารางเปรียบเทียบหัวข้อใหญ่ ๆ ที่เห็นกันได้ทั่วไป เป็นข้อมูลทั่วไปของการทำธุรกิจ
-  ตาราง littile m เป็นตารางเปรียบเทียบเรื่องเกี่ยวกับกลยุทธ์ทางการตลาด การใช้เครื่องมือทางการตลาด และเงื่อนไขอื่น ๆ

ตัวอย่างตาราง BIG M little m เป็นดังนี้

BIG M

little m

นอกจากเราจะมีเครื่องมือดี ๆ แล้วนั้น ... จังหวะเวลาก็เป็นสิ่งที่สำคัญในการทำธุรกิจเช่นกัน ดังนั้นทุก ๆ คนมีการใช้เวลาเท่ากัน แต่ใครจะใช้เวลาได้คุ้มค่าที่สุด และไขว่คว้าโอกาสมาได้มากที่สุด ก็จะอยู่ที่จังหวะเวลา ถึงวันนี้จะขายไม่ดี เดินทางไม่ถูก ก็อย่าเพิ่งท้อใจไป ยังไงต้องมีจังหวะเวลาที่เป็นของเรา ขอแค่ใช้เวลาทุกวินาทีให้คุ้มค่าก็ถือว่าทำดีที่สุดและไม่มีการเสียใจทีหลังอย่างแน่นอน

 



Source : https://www.blockdit.com/posts/5f58218a376c910fa3715720
https://www.slideshare.net/CherryMalhotra/positioning-map-cosmetics


Author : Pajaree Kanmaneelert